วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศึกษาดูงาน ประเทศCAMBODAI

โปรแกรม 3 วัน 2 คืน 4,5,6พฤศจิกายน2555

ประเทศกัมพูชา-โอว์เสม็ด-เสียมราฐ-นครวัด-นครธม-โอว์เสม็ด





ปราสาทนครวัด สร้างขี้นราวระหว่าง 1650-1700 โดยพระเจ้าสุริยะวรมันที่2ซึ่งมีพระนามเมื่อสิ้นพระชนม์ว่า บรมวิษณุโลก ศาสนาสถานแห่งนี้สร้างในศาสนาพราหมณ์ลักธิไวษณพนิกาย ซึ่งนับถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ นายคอมมาย นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เริ่มถากถางปราสาทนครวัดตั้งแต่ พศ.2541-2542ปราสาทนครวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ผิดกับปราสาทขอมแห่งอื่นๆในเมืองพระนคร ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกปราสาทแห่งนี้มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ราว 1,025x800เมตรโดยรอบ จัดเป็นศาสนาสถานที่ใหญ่ที่สุดในเมืองพระนครขอม


 

ปราสาทตาพรหม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เป็นปราสาทหินในยุคท้ายๆ ของอาณาจักรเขมร ปราสาทเหล่านี้ถือว่าเป็นสถานที่ของพระพุทธศาสนาที่สมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะสมัยนั้นกษัตริย์ที่สนับสนุนให้มีการสร้างปราสาทนี้เป็นวัดในศาสนาพุทธ การดูแลปราสาทต่างๆนั้นรัฐบาลได้ทำการตัดต้นไม้ออกจากปราสาทอื่นๆ เพราะกลัวว่าประสาทจะล้มลงหากต้นใหญ่โตมากๆ แต่สำหรับปราสาทตาพรมนั้น รัฐบาลมีแนวคิดที่จะคงต้นไม้ไว้เหมือนโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นบนปราสาทแทบทุกปราสาทจึงกลายเป็น ลักษณะเด่นของปราสาทตาพรหมคือมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นคลุมตัวปราสาทเป็นจำนวนมาก ไปในตอนหลัง

ปราสาทตาพรมนั้น ในรัชกาลที่กษัตย์นิยมฮินดู ได้อำนาจคือนจากกษัตริย์ นับถือพุทธ จึงให้มีการทำลาย และมีร่องรอยการทำลายมากที่สุด เพราะความต่างของการนับถือศาสนา ปราสาทตาพรม จึงไม่หลงเหลือศิลปะให้พวกเราได้เห็นมากนัก และเนื่องจากใช้ถ่ายทำหนังหลายเรื่อง เช่น ทูมไรเดอร์ เจมส์บอนด์ ฯลฯ นักท่องเที่ยวจึงเข้าคิวเพื่อถ่ายรูปกับรากไม้มากกว่าซาบซึ้งในศิลปกรรม



 
 


ปราสาทบายนเป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 1724-พ.ศ. 1763[1] หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับว่ามีกี่หน้าลักษณะทางสถาปัตยกรรมของบายนก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลายๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลังๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ทำกัน และใช้เป็นวัดประจำสมัยต่อเนื่องกันมา

1 ความคิดเห็น:

  1. รูปภาพสุดท้ายที่เอามือค้ำยอดปราสาทบายน ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งขนาดเครื่องบินยังห้ามบินผ่านปราสาท

    ตอบลบ